ข้อมูลเที่ยวฟิลิปปินส์ : อาหารประเทศฟิลิปปินส์ อโดโบ้ (Adobo)
อาหารประจําชาติ ฟิลิปปินส์ อโดโบ้ (Adobo)
อโดโบ้ (Adobo) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากภาคเหนือของฟิลิปปินส์และเป็นที่นิยมของนักเดินทางหรือนักเดินเขา อโดโบ้ทำจากหมูหรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไป ทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบหรือทอด และรับประทานกับข้าว ในอดีตอาหารจานนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทาง เนื่องจากส่วนผสมของอโดโบ้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เหมาะสำหรับพกไว้เป็นเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง ซึ่งปัจจุบันอโดโบ้ได้กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่นำมารับประทานกันได้ทุกที่ทุกเวลา
อโดโบ (Adobo) คืออาหารฟิลิปปินส์ที่ชื่นชอบที่สุดจนต้องยกให้เป็นอาหารประจำชาติ แม้ว่าอาหารจานนี้จะไปพ้องกับคำว่า (Adobo) ในภาษาสเปนที่หมายถึง การหมักด้วยซอส เครื่องเทศ เกลือ น้ำส้มสายชู และพริกปาปริกา ถือเป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง เพราะส่วนผสมเหล่านี้นั้น สามารุยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย จึงช่วยให้เสียช้า เพราะในสมัยก่อนไม่มีตู้เย็นหรือน้ำแข็ง และอาหารที่ปรุงด้วยวิธีนี้นั้น ยังสามารถเก็บไว้ได้ข้ามวัน ข้ามคืนโดยไม่ต้องแช่ตู้เย็นได้อีกด้วย ชาวฟิลิปปินส์ยืนยันว่า อาหารจานนี้เป็นอาหารฟิลิปปินส์แท้ๆ ไม่ได้นำมาจากสเปน เจ้าอาณานิคมในอดีตที่เข้ามาปกครองแต่อย่างใด โดยอ้าวจากหนังสือ "Why We Eat : How Columbus Changed the way the World Eats" ที่เขียนโดย Ray Sokolov เขากล่าวว่า ชาวสเปนที่เข้ามายังฟิลิปปินส์ เป็นผู้เรียกชื่ออาหารจานนี้ว่า "อโดโบ" เพราะเห็นว่าคล้ายกับอโดโบของสเปน แต่ อโดโบของฟิลิปปินส์ หมายถึง อาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์เป็นหลัก นำไปต้มในน้ำส้มสายชูพร้อมส่วยผสมอื่นๆ ถ้าพูดถึงน้ำส้มสายชู ขอบอกว่า สำหรับฟิลิปปินส์แล้วนั้น น้ำส้มสายชูเป็นสิ่งสำคัญขงอโดโบ นำส้มสายชูของฟิลิปปินส์นั้นมีหลากหลาย เป็นที่นิยมกันคือ น้ำส้มสายชูหมักจากน้ำตาลโตนด (ชาวใต้ของไทยคงรู้จักกันดีในนามของน้ำส้มโหนด) น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลอ้อย และข้าว เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาปรุงอาหารชนิดนี้ ได้แก่ ไก้ หมู แกะ แพะ รวมทั้งอาหารทะเล เช่น ปลาหมึกและกุ้ง หรือแม้กระทั่ง ผัก ก็นำมาทำได้
วิธีทำนั้น จะนำเนื้อสัตว์ไปหมักในส่วนผสมของซอสถั่วเหลือง น้ำส้มสายชู กระเทียม พริกไทย เกลือ ใบกระวาน (Bay Leaf) แล้วนำไปเคี่ยวระหว่างที่เคี่ยวนั้นจะได้กลิ่นน้ำส้มสายชูฉุนขึ้นมา ก็ไม่ต้องไปสนใจเคี่ยวไปเรื่อยๆ จนเนื้อเปื่อยตามที่พอใจ สังเกตว่า กลิ่นน้ำส้มสายชูจะจางหายไป ที่สำคัญ ความเปรี้ยวส่วนหนึ่งก็จะจางหายไปด้วย จากนั้น จึงนำไปทอดให้สุกจนผิวเป็นสีเหลืองทอง ส่วนน้ำซอสที่เหลืออยู่ในหม้อนั้น ให้นำมาตั้งไฟอีกครั้ง เคี่ยวให้เหนียวข้นตามแต่พอใจ แล้วจึงนำชิ้นเนื้อที่ทอดแล้วกลับลงไปคลุกเคล้ากับซอสอีกครั้งนึง วิธีนี้จะมีช้นเนื้อในน้ำซอสขลุกขลิกไว้ราดข้าว กินกับข้าวสวยร้อนๆ เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม วิธีนี้เป็นการปรุงอโดโบโดยทั่วไป