ข้อมูลเที่ยวศรีลังกา : เมืองสิกิริยา พระราชวังลอยฟ้า (Sigiriya)

ข้อมูลเที่ยวศรีลังกา : เมืองสิกิริยา พระราชวังลอยฟ้า (Sigiriya)

สิกิริยา มีประวัติความเป็นมายาวนาน นับตั้งแต่พุทธปรินิพพานได้ 277 ปี พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ได้เสด็จประพาสและตั้งชื่อภูเขาแห่งนี้ว่าสีหคีรี ซึ่งแปลว่า เขาสิงห์ ต่อมาใน พ.ศ.440-454 พระเจ้าปุลหัตถะได้สร้างป้อมพร้อมศาลาโรงธรรมไว้ที่นี่ ในรัชสมัยของพระเจ้าพาหิยะได้สืบทอดเจตนารมณ์ของพระราชบิดาโดยการสร้างโรงทานสำหรับพระภิกษุ จนมาถึงในรัชสมัยพระเจ้ากัสสปะ พ.ศ.1020 ได้ทรงสร้างสีหคีรีนี้เป็นป้อมปราการและเป็นพระบรมมหาราชวังด้วย

การที่จะสร้างให้สิกิริยาเป็นราชธานนี้ มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าธาตุเสน ราชธานีของพระองค์อยู่ที่อนุราชปุระ พระองค์มีพระราชประสงค์จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่มีอำนาจทั้งฟ้าและดิน จึงต้องหาที่สร้างวังบนยอดเขา ต่อมาเจ้าชายกัสสปะพระราชโอรสผู้ประสูติจากมเหสีฝ่ายซ้ายซึ่งเป็นหญิงสามัญชน ได้ยึดอำนาจการปกครองจากพระเจ้าธาตุเสน ทำให้เจ้าชายโมคคัลลาน์ รัชทายาทซึ่งประสูติจากสมเด็จพระราชินีต้องลี้ภัยไปอยู่ประเทศอินเดีย

หลังจากเจ้าชายกัสสปะ ได้จับพระราชบิดาขังคุกแล้วโบกปูนปิดทับทั้งที่ยังมีพระชนม์ชีพ จากนั้นก็สถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงไม่โปรดที่จะครองราชย์อยู่ที่อนุราธปุระ ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่สิคีริยา ใช้เวลาในการสร้างนาน 7 ปี พระเจ้ากัสสปะครองราชย์อยู่นาน 18 ปี ก็ถูกเจ้าชายโมคคัลาน์ พระอนุชาต่างพระมารดา ยกทัพมาจากประเทศอินเดียมาชิงพระราชบังลังก์คืน ทรงล้อมสีหคีรีไว้แน่นหนา พระเจ้ากัสสปะไม่มีทางสู้ จึงตัดสินพระทัยปลิดพระชนม์ชีพพระองค์เองในพระราชวังบนขุนเขาแห่งนี้

สิกิริยา เป็นอนุสรณ์สถานของคนบาป ลูกฆ่าพ่อเพื่อชิงราชบัลลังก์ ทั้งๆ ที่พระเจ้าธาตุเสนเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชหฤทัยดี มีเมตตา เป็นที่ยกย่องของข้าราชบริพารและพสกนิกรของพระองค์เวลาผ่านไป ขุนเขาสีหคีรีก็ถูกทอดทิ้งเป็นเมืองร้างนานนับศตวรรษ ต้นไม้ใบหญ้าขึ้นปกคลุมเป็นป่ารกชัฏ เต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์นานาชนิด ล่วงมาจนถึงศตวรรษที่ 19 พันเอกเบส ฟอร์เบส นายทหารอังกฤษได้เป็นผู้ค้นพบความลับในป่าลึกเขาได้บันทึกถึงสภาพแวดล้อมของสีหคีรีไว้อย่างละเอียด แต่ก็ไม่สามารถคลำทางไปจนถึงยอดของสีหคีรีได้ ต่อมาในพ.ศ. 1853 อดัมส์และเบเลย์ พร้อมด้วยชาวพื้นเมืองอีก 2 คน ได้ปีนเขาขึ้นไป สำรวจพบภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพชุดแรกที่เขาค้นพบเป็นรูปสิงโต ต่อมาในปี พ.ศ.1875 เดวิดก็พบภาพชนิดเดียวกันทางด้านตะวันตก ภาพเหล่านี้ลบเลือนไปบ้าง กรมศิลป์ฯ แห่งชาติ จึงได้เข้าไปอนุรักษ์ไว้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1876 บัดเลย์ ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างบนเขาแห่งนี้ ได้มีการกล่าวถึงทางขึ้นทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งถูกปิดด้วยป่าทึบ มีผู้ค้นพบคูน้ำและป้อมกันภัย ต่อมานายเอช ซี พี เบล อธิบดีกรมโบราคดีได้ค้นพบทางขึ้นด้านตะวันออก โดยจ้างคนไต่เขาขึ้นไปหาภาพเขียนเพิ่มขึ้น เริ่มทางป่ารอบๆ เขา และเริ่มบูรณะจิตกรรมโบราณนี้อย่างจริงจังตั้งแต่ปีพ.ศ. 1894

ทัวร์แนะนำ ที่คุณอาจจะสนใจ