ข้อมูลเที่ยวอิหร่าน : สังคมและวัฒนธรรมอิหร่าน

สังคมและวัฒนธรรมอิหร่าน
คนอิหร่านร้อยละ 98 นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ อีกร้อยละ 2 นับถือศาสนาอื่นเช่นคริสต์ โซโรแอสเตอร์ และยูดาย  คนอิหร่านส่วนมาก โดยเฉพาะผู้มีอายุ จะเคร่งครัดกับหลักศาสนาอิสลามในการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน ผู้ที่จะเดินทางมาอิหร่านควรทราบหลักการสำคัญทางศาสนาอิสลามเพื่อการปฏิบัติตน เช่นหลักการแบ่งแยกหญิงชาย ข้อห้ามทางต่างๆ ในศาสนาอิสลาม เพราะในประเทศอิหร่าน ข้อห้ามหลักๆ ทางศาสนาถือเป็นกฎหมายบ้านเมืองที่มีบทลงโทษรุนแรงโดยพื้นฐานชาวอิหร่านมีความเป็นมิตร ชอบพูดคุยทักทายและชอบขอถ่ายรูปกับคนต่างชาติ (แม้จะมีไม่บ่อยนักแต่ท่านควรปฏิเสธในทุกกรณีเมื่อมีเพศตรงข้ามมาขอถ่ายรูปคู่และท่านก็ไม่ควรขอถ่ายรูปคู่กับเพศตรงข้าม
แม้ว่าจะเป็นเพื่อนเก่าและแม้จะอยู่ในอาคารหรือในที่พักเนื่องจากบางครั้บตำรวจอาจขอตรวจรูปในกล้องของท่านและส่งตัวท่านออกนอกประเทศได้เนื่องจากเป็นการแสดงความใกล้ชิดกับผู้ที่ไม่ใช่คู่ครองซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายอิหร่าน)เนื่องจากชาวต่างชาติในอิหร่านมิได้มีเป็นจำนวนมากนัก  ฉะนั้น เมื่อมีชาวต่างชาติเข้ามาเดินบนท้องถนนในอิหร่าน ชาวต่างชาติมักจะถูกจ้องมองโดยชาวอิหร่าน จนบางครั้งท่านจะรู้สึกเขินอาย โดยที่ชาวจีนเข้ามาทำการค้าขายและธุรกิจมากกว่าคนชาติอื่นในเอเซีย และละครทีวีเกาหลีเป็นที่นิยมมากในอิหร่าน เมื่อคนอิหร่านพบคนไทย (โดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีน) จึงมักเข้าใจว่าเป็นคนจีน ("ฉินนี่”) หรือคนเกาหลี ("โคเรีย”)เนื่องจากผ่านภาวะความยากลำบากและภาวะสงครามมามาก คนอิหร่านจึงมีนิสัยประหยัด ไม่ชอบจับจ่ายใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย หากสิ่งของใดเสียก็จะซ่อมจนกว่าจะซ่อมไม่ได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องดี อย่างไรก็ตามชาวอิหร่านมีอุปนิสัยใจกว้างกับแขกและชอบรับแขกโดยเฉพาะแขกต่างชาติ โดยหากเป็นแขกของตนแล้วชาวอิหร่านจะแย่งออกค่าอาหารและค่าน้ำ ชาวอิหร่านชอบชวนแขกหรือเพื่อนไปที่บ้าน โดยถือเป็นมารยาทและเป็นหน้าเป็นตาเจ้าของบ้าน ชาวอิหร่านจะจัดขนมและอาหารรับแขกอย่างเต็มที่และเต็มใจ และจะไม่ประหยัดกับการรับแขกของตนชาวอิหร่านในปัจจุบันมีความสะอาดส่วนบุคคลค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามเนื่องจากการแต่งกายมิดชิดและการไม่ใช้เครื่องหอมตามหลักศาสนาอิสลาม กอรปกับอาหารที่มีเครื่องเทศและหัวหอมใหญ่ เมื่อรวมกับอากาศในหน้าร้อนของอิหร่าน ทำให้คนต่างชาติโดยเฉพาะจากเอเชียตะวันออก รู้สึกว่าคนอิหร่านมีกลิ่นตัวแรง ซึ่งความจริงแล้วบางครั้งเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องของการไม่รักษาความสะอาด แต่เป็นเรื่องของค่านิยมและวัฒนธรรมมากกว่าโดยความจริงแล้วชาวอิหร่านที่เคร่งศาสนาจะต้องชำระล้างและทำความสะอาดร่างกายก่อนทำพิธีละหมาด (เท่ากับอย่างน้อยต้องทำความสะอาดร่างกายอย่างน้อยวันละห้าครั้ง) และการรักษาความสะอาดร่างกายถือเป็นบัญญัติทางศาสนาด้วย อย่างไรก็ดีห้องน้ำในอิหร่านจะเป็นแบบนั่งยอง (เป็นไปตามหลักศาสนาและไม่มีโถปัสสาวะให้ท่านชาย) และไม่สะอาดนัก โดยเฉพาะหลายแห่งจะเป็นส้วมหลุม (ไม่มีน้ำหล่อคอห่านแบบส้วมซึม) เป็นสาเหตุให้มีกลิ่นและมีภาพที่ไม่น่าจดจำเท่าใดนักอาหารยอดนิยมในอิหร่านคือขนมปัง มีราคาถูกและมีหลายแบบให้เลือก ทั้งแบบตะวันตกและแบบอิหร่าน โดยชาวอิหร่านเรียกขนมปังทุกชนิดรวมๆ ว่า "นาน” แต่ขนมปังแต่ละชนิดมีชื่อเฉพาะของตัวเอง แต่ที่อร่อยและมีชื่อที่สุดคือแซงแก็ตซึ่งเป็นขนมปังแผ่นแบนฟูน้อย อบหรือย่างบนก้อนกรวดแม่น้ำ ซึ่งขนมปังชนิดนี้มีรสชาติดีมาก แต่พึงระวังว่าในบางครั้งอาจมีก้อนกรวดติดมากับขนมปังและทำให้ฟันของท่านบิ่นได้  คนอิหร่านนิยมรับประทานนาน(ส่วนใหญ่ตามร้านทั่วไปจะใช้นานราคาถูกซึ่งมีลักษณะเหมือนแป้งแผ่นแบนๆ ไม่ฟู) กับเนื้อสัตว์ย่าง (วัว แกะ ไก่ และปลา) เรียกว่า "คะบับ” และโยเกิร์ต โดยนิยมดื่มนมเปรี้ยวใส่เกลือเรียกว่า "ดู๊ก” ในมื้ออาหาร โดยปกติร้านอาหารจะมีผักเคียงคือหัวหอมใหญ่ดิบและพริกสดให้ฟรี แต่จะไม่เสริฟข้าวโดยอัตโนมัติ โดยปกติบริกรจะถามว่าท่านจะรับข้าวด้วยหรือไม่ ซึ่งถ้ารับท่านจะต้องจ่ายค่าข้าวเพิ่มจากราคาคาบับในเมนู เพราะในอิหร่านข้าวมีราคาแพงกว่าขนมปังมาก เนื่องจากรัฐบาลตรึงราคาแป้งสาลีไว้ส่วนข้าวนั้นไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการถายในประเทศ จึงต้องนำเข้าข้าว basmati จากอินเดียและปากีสถานเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากหุงแล้วเมล็ดข้าวยาว แห้งและร่วน ถูกปากคนอิหร่าน ดังนั้น แม้ท่านจะยืนยันว่าท่านได้ข้าวแล้วจึงไม่ขอรับนาน  ทางร้านก็จะไม่ลดราคาอาหารให้แต่อย่างใด แม้ว่าประเทศอิหร่านจะอยู่ในแถบตะวันออกกลาง แต่คนอิหร่านส่วนมากไม่ใช่ชาวอาหรับ (คนอิหร่านทางตอนใต้ของประเทศจำนวนหนึ่งมีเชื้อสายอาหรับ) เนื่องจากมีภาษาและวัฒนธรรมทีแตกต่างกัน (อิหร่านใช้ภาษา Farsi ซึ่งออกเสียงตามสำเนียงเจ้าของภาษาว่าฟอร์ซี) จึงไม่ถูกต้องและไม่ควรจะเรียกชาวอิหร่านว่าเป็นอาหรับ และคนอิหร่านเชื้อสายเปอร์เซียและอาเซอรีอาจจะไม่ค่อยพอใจนักและรีบออกตัวในทันทีว่าตนไม่ใช่อาหรับเดิมประเทศอิหร่านใช้ชื่อประเทศว่าเปอร์เซีย โดยในสมัยต่อมาในช่วงที่เยอรมนีรุ่งเรืองในยุโรป กษัตริย์เปอร์เซียเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นอิหร่าน ซึ่งแปลว่าประเทศของชาวอารยัน (Aryan/ Arian) เพื่อให้ชื่อประเทศมีความเกี่ยวโยงกับเชื้อชาติดังเดิมเพื่อหวังผลทางการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้น และภายหลังการปฏิวัติอิสลามเมื่อปี ค.ศ. 1979 ชื่อทางการของประเทศอิหร่านได้เปลี่ยนเป็น Islamic Republic of Iran จนถึงทุกวันนี้นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาวอิหร่านหรือเปอร์เซียในขณะนั้น เข้ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนาในบริเวณสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คนไทยนิยมเรียกชาวเปอร์เซียว่า แขกเทศหรือแขกเจ้าเซนโดยชาวเปอร์เซียเฉพาะสมัยพระเจ้าธรรมราชาและพระนารายณ์มหาราชมีชาวอิหร่านเข้ามารับราชการเป็นจำนวนมาก โดยที่สำคัญคือพระยาเฉกอะหมัด (Shake Ahmad) หรือเจ้าพระยาบวรราชนายก ปฐมจุฬาราชมนตรี ต้นสกุลบุนนาคโดยชาวอิหร่านและลูกหลานไทยผู้สืบเชื้อสายชาวอิหร่านมีมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งด้านสถาปัตยกรรม (การก่ออิฐเป็นลายและช่องลม) ภาษาศาสตร์ (คำว่าสบู่และกุหลาบ) และอาหาร (แกงมัสมั่น) ให้ไว้กับสังคมไทยเป็นจำนวนมากชาวอิหร่านมีความรู้จักประเทศไทยเป็นอย่างดีจากการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และมองภาพลักษณ์ของไทยในทางที่ดี  ทั้งสภาพบ้านเมือง ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต แต่ชาวอิหร่านจำนวนไม่น้อยก็มีทัศนคติในทางลบกับผู้หญิงไทยโดยเฉพาะหนุ่มอิหร่านที่เคยผ่านไปเที่ยวพัทยาหรือพัฒนพงศ์

ทัวร์แนะนำ ที่คุณอาจจะสนใจ